เราบอกกับทุกท่านเสมอว่า “ชันโรงคือหนึ่งดัชนีชี้วัดความเป็นอินทรีย์” ในพื้นที่ และเขาคือปัจจัยสำคัญในการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบผลสำเร็จ ด้วยนิสัยที่ชอบเก็บเกสรเป็นชีวิตจิตใจ และจะเกิดอะไรขึ้นบ้างนะ หากเรานำชันโรงไปเลี้ยงจริงจังในไร่กาแฟอินทรีย์ Shade-Grown (กาแฟโตในร่มเงาป่าไม้)?
ประสบการณ์การชิมน้ำผึ้งในไร่กาแฟอาจไม่ใช่เรื่องยากในการประสบ เพราะวิถีเกษตรกรกาแฟโดยส่วนใหญ่มักจะเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปกับการปลูกกาแฟอยู่แล้วตามธรรมชาติที่สภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวย แต่ถ้าเป็นน้ำผึ้งชันโรงในไร่กาแฟ เราเชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องใหม่ของเกือบทุกคน รวมถึงเราเช่นกัน แม้ว่าชันโรงจะเป็นผึ้งพื้นเมืองในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่กับความสูงในระดับที่ปลูกกาแฟงดงาม (มากกว่า 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล) และอุปนิสัยผึ้งชันโรงในป่า ที่ส่วนมากมักอยู่ในดินมากกว่าตามต้นไม้ รวมไปถึงเรื่องดินฟ้าอากาศ ทำให้เรื่องนี้ท้าทาย และเป้าหมายน่าสนุกชวนติดตามเป็นอย่างมาก
“การเลี้ยงชันโรงในไร่กาแฟ”
สาหรับเราแล้ว นี่คือไร่กาแฟแห่งแรกที่เราเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมจริงจังในการนำชันโรงไปเลี้ยงในไร่กาแฟซึ่งไร่แรกที่เราได้รับความร่วมมือก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล เกษตรกรที่เราใช้บริการมาตั้งแต่เปิดร้านจนถึงทุกวันนี้ “พี่แสนชัย – Saenchai Estate กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่”
เราเองเติบโตพอเป็นผู้เป็นคนเรื่องผึ้งพื้นถิ่นได้ก็เพราะอาจารย์ของเราทั้งสองท่าน – รศ.ดร. อรวรรณ ดวงภักดี และ อาจารย์ปรีชา รอดอิ่ม 🙏😊 ทีมศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงเป็นเรื่องสมควร ที่จะเชิญอาจารย์ทั้งสองท่านร่วมเดินทางกับเราไปยังไร่กาแฟพี่แสนชัย เพื่อข้อมูลที่แม่นยำ มีทีมงานที่พร้อมซัพพอร์ทบวกกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่พร้อมเพรียง เพียงแค่นี้ ก็ช่วยการันตีความสาเร็จของโปรเจคนี้ไปครึ่งทางแล้ว
*อ่านมาถึงตอนนี้ หากใครอยากรู้จัก “ชันโรง” เพิ่มเติม กดเข้าไปอ่านที่นี่ก่อนได้นะ เพื่ออรรถรสในการติดตามต่อจ้าา*
https://somdul.com/lifestyle/stingless-bee/
แวะเติมกาแฟที่ “School Coffee” โรงเรียนกาแฟของเราที่ไม่ใช่โรงเรียนหรอก แต่เป็นร้านกาแฟ+โรงคั่วที่ Support กาแฟไทยหัวใจรักธรรมชาติ และร่วมทำงานพัฒนากาแฟไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงแก้วกาแฟคุณลูกค้า (แน่นอนว่า แก้วกาแฟของคุณลูกค้าเราก็มีเบื้องหลังเป็น School Coffee เช่นกัน) พร้อมกับรับ “น้องเฟิร์น” ตัวแทนทีม School Coffee ที่จะมาร่วมศึกษาการเลี้ยงชันโรง ประสานงานอำนวยความสะดวกให้กับทีมงาน และอาจารย์อีกทั้งสองท่าน เดินทางขึ้นไปไร่กาแฟพี่แสนชัย “Saenchai Estate” อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ที่ต้องใช้เวลากว่า 3ชั่วโมง ในการเดินทางแหละ
หูที่เริ่มอื้อเป็นระยะๆ อากาศที่เริ่มเย็นขึ้นเรื่อยๆ เป็นสัญญานว่าเรากำลังขับรถไต่ความสูงขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย ป่าสนสูงใหญ่ข้างทาง เริ่มเห็นบางตา กำลังบอกเราว่า เราใกล้ถึงจุดหมายแล้ว ความสวยงามของธรรมชาติสองข้างทางทำให้เรารู้สึกว่า เวลาร่วม 3ชั่วโมงไม่ได้ยาวนานเกินไป
เราเติมพลังงานยามเที่ยงกับมื้ออาหารดีๆ จากครอบครัวพี่แสนชัยที่รสชาติแสนอร่อยเสมอมา ก้าวขาสู่ไร่กาแฟแห่งแรกที่พี่แสนชัยมองไว้ว่าน่าสนใจ และสะดวกในการดูแลชันโรง ที่นี่คือ “บ้านจันทร์ กัลยาณิวัฒนา”
ด้วยความสูงประมาณ 1,100 – 1,400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล พื้นที่ค่อนข้างลาดชัน มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีระบบนิเวศดีเยี่ยม และเหมาะกับการเลี้ยงชันโรงได้อย่างไม่ต้องสงสัย เราเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ปริมาณอาหารว่าเพียงพอแค่ไหน สังเกตจดบันทึกสิ่งมีชีวิตใกล้ใกล้เคียงกับชันโรง อาทิ ผึ้งชนิดอื่นๆ แมลงต่างๆ ว่ามีความหลากหลายแค่ไหน หรีอมีศัตรูชันโรงในพื้นที่เลี้ยงมากน้อยแค่ไหน? (ส่วนใหญ่จะเป็น “มด” นี่แหละ”) รวมไปถึงหมุดอาณาเขตคร่าวๆ ที่ชันโรงจะออกหากินและยังอยู่ในรัศมีของพืชผลอินทรีย์ในไร่กาแฟพี่แสนชัยอยู่ เพื่อการันตีคุณภาพน้ำผึ้งจากชันโรงด้วยว่าเป็นน้าผึ้งOrganic แน่นอน❗️
“พี่บิ๊ก บริรักษ์ อภิขันติกุล” อาจารย์ใหญ่ของเรา เจ้าของ “School Coffee” เคยบอกกับเราว่า ถ้าสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ ของขวัญหนึ่งอย่างแน่ๆ ที่ธรรมชาติจะมอบให้เราคือ “ท้องฟ้ายามเช้า” เรามาพักดูของขวัญจากธรรมชาติ ที่เราพอเก็บภาพได้มาบ้างกันก่อนเนาะ ที่บ้านวัดจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา ครับ
หลังจากที่เราตื่นเช้า เติมกาแฟ ฉีดVibes ดีๆ แรงบันดาลใจดีๆ ยามเช้าเข้าร่างกายบนภูเขาที่กัลยาณิวัฒนาเสร็จเรียบร้อย เราเดินทางไปไร่กาแฟอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีรางวัล “10อันดับสุดยอดกาแฟไทย” มาการันตีความดีงาม “บ้านห้วยตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน”
“Shade-Grown” ตั้งแต่เรานั่งอยู่หลังกระบะก่อนที่จะถึงไร่กาแฟ แม้จะเป็นเวลาเกือบ 11โมงเช้า แต่แดดที่สามารถเสียดแทงผิว ถูกบล็อกด้วยร่มเงาไม้ป่าเขียวขจี มีแต่อากาศสดชื่นให้บรรเทาความล้าจากการเดินทาง เราย่ำเท้าเข้าเดินทางพื้นที่ไร่กาแฟ พร้อมกับกิจกรรมเดียวกับที่เราเข้าไปไร่กาแฟมาก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปวิเคราะห์ว่า เหมาะแก่การเลี้ยงชันโรงมากน้อยแค่ไหน ว่าแล้ว ก็ลุยยย❗️
สิ่งหนึ่งที่ผิดสังเกตไปตั้งแต่ไร่กาแฟที่เราได้ไปเยี่ยมชมเมื่อวานคือปริมาณเชอรี่กาแฟที่ติดลูก มีปริมาณน้อยกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด จากการเปรียบเทียบในปีที่ผ่านๆ มา เรายังพบว่า พี่แสนชัยบำรุงต้นกาแฟ ดูแลเป็นอย่างดีเฉกเช่นเคย แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือฝนฟ้าอากาศ ฤดูกาลที่เริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม ฝนตกนานขึ้น นานจนมาถึงฤดูเก็บเกี่ยว ตามมาด้วยหนาวจัดขึ้น สลับกับแดดแรง และที่เราทราบมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเกือบทุกไร่กาแฟอาราบิก้าในปีนี้ครับ……………………………………….
.
.
.
………………………. คิดๆ ดู ก็ตกผลึก จึงไม่แปลกใจที่ปริมาณกาแฟจะลดลงกันทุกที่ แต่คุณภาพที่มีไม่ได้ลดลงไป เพราะความตั้งใจพี่แสนชัยที่เราสังเกตตลอดมา ไม่เคยมอดหายไปครับ และนี่คือสาเหตุหลักเหมือนกันที่เราร่วมทางานกับพี่แสนชัยเป็นที่แรก
ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมด จะถูกนำไปวิเคราะห์ วางแผนแนวทางการนำชันโรงมาเลี้ยงในที่แห่งนี้ ตั้งแต่การคัดสายพันธุ์, ตาแหน่งการวางรัง, วิธีการดูแล และรับมือกับสภาพภูมิอากาศทุกรูปแบบที่ก่อปัญหาให้พวกเขาได้ แน่นอนครับว่ายังไม่จบเท่านี้แน่ ฝากติดตามภารกิจนี้ใน Chapterถัดไปด้วยนะครับ ไม่นานเกินรอ เพราะพี่แสนชัยก็รอไม่ไหวที่จะเห็นสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโอบกอดต้นกาแฟให้ออกมาดีงามตามๆ กันครับ
ปล. ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านอีกครั้งที่มาช่วยแนะนำ และสานฝันจุดหมายเราให้เป็นจริง ขอบคุณ “น้องเฟิร์น” แห่งทีม School Coffee ที่มาร่วมศึกษาหาคาตอบเจ้าชันโรงไปด้วยกัน และที่ขาดไม่ได้ “พี่แสนชัย” ที่ให้เกียรติกับพวกเราอย่างยิ่ง และดูแลพวกเราอิ่มหมีพลีมัน ตลอดทั้งทริปครับ