SDGs, BCG model, ESG ตัวย่อเหล่ามีเพื่ออะไร และเรื่องราวเบื้องหลังที่ไม่ควรมองข้าม 

ถ้าคุณอยากรู้ว่าตัวย่อเหล่านี้คืออะไร ต่างกันอย่างไร คุณจะสามารถหาความหมายและคำอธิบายได้มากมายจากการค้นหาในบราวเซอร์ของคุณหรืออ่านจากบทความก่อนหน้านี้ของสมดุล แต่ถ้าเราจะบอกคุณว่าถ้าคุณเข้าใจเบื้องหลังของคำเหล่านี้ คุณจะนำมาปรับใช้ได้ และมันจะทำให้ชีวิตหรือธุรกิจของคุณดีขึ้นอย่าง “ยั่งยืน” ทันทีหละ! อาจฟังดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีตัวอย่างมากมายที่ทำสำเร็จให้เห็น คำถามที่ตามมาคือจะทำได้อย่างไร วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเบื้องหลังให้ฟังกัน

ตั้งแต่ช่วงต้นของยุคอุตสาหกรรม สังคมมนุษย์เราสามารถเรียกได้ว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทุกรัฐบาลของแทบทุกประเทศพิ่งพาการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศจากภาคธุรกิจเกือบร้อยเปอร์เซนต์ กล่าวคือบริษัททั้งหลายทั้งที่เป็นเอกชนและรัฐบาลร่วมด้วย เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ มาจนถึงยุคปัจจุบันที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากรณ์เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่องๆ จนใกล้จะถึงจุดที่กู้ไม่กลับ งานวิจัยและข้อมูลทางสถิติมากมายบ่งชี้ไปในทางเดียวกัน ว่าตั้งแต่ประมาณปี คศ.1950 มีความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและการพังทลายของระบบสิ่งแวดล้อมซึงเกิดขี้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (The Great Acceleration)

ทั้งหมดนี้จิงเป็นเหตุผลทั้งประชาคมโลกสร้างแผนทั้งที่เป็นเป้าหมายร่วม อย่าง SDGs, แนวคิดที่ใช้ในการลงทุนอย่างESG, หรือแม้กระทั่งนโยบายเพื่อความยั่งยืนของไทยเองอย่าง BCG model. ซึ่งทุกแนวคิดทุกตัวย่อทุกโมเดลเหล่านี้ เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องแก้โดยเร่งด่วนทั้งสิ้น แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราได้เจอบทความบทความนึงที่ตั้งคำถามในโมเดลสิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่ออกมาเป็นตัวย่อเหล่านี้ ว่ามันจะยิ่งทำให้คนทั่วๆหรือแม้กระทั่งหน่วยงานบางแห่งไปสับสนมากขึ้นหรือไม่ เราจึงอยากจะมาเล่าถึงแนวคิดในการปรับใช้ของทีมสมดุลว่าเราทำกันอย่างไร

ถ้าพูดถึงแค่สามตัวย่อข้างต้น เราอาจสรุปได้สั้นๆว่า SDGs เป็นเป้าหมายร่วมของประชาคมโลก ESG เป็นตัวชี้วัดเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืน (มักใช้ในบริษัทใหญ่ๆ) และ BCG เป็นโมเดลที่สร้างโดยประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์ SDGs แต่ทั้งหมดนี้เกิดมาเพื่อเป้าหมาย “ความยั่งยืน” เช่นเดียวกัน การปรับใช้จริงไม่ใช่เรื่องที่ยากเดินไปนัก และเราเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการตั้งเป้าหมายขององค์กรในเรื่องความยั่งยืนให้ล้อไปกับเป้าหมายหลักขององค์กรอย่างเดิม

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ทำเรื่องอาหารควรตั้งเป้าหมายในการเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม หรือชุมชมหรือครัวเรือนที่อยู่ใกล้ทะเลอาจมีการตั้งเป้าหมายส่วนตัวในการดูแลรักษาระบบนิเวศชายฝั่ง เราเรียกวิธีนี้ว่าการ create share purpose ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากการยอมรับในปัญหาสิ่งแวดล้อมและยอมรับว่าตัวเราเองยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่สร้างปัญหา เพื่อที่จะได้จดกการกับมันอย่างตั้งใจและจริงใจ

หลังจากเราสร้างเป้าหมายของเราแล้ว ทุกการตัดสินใจก็จะได้รับการสร้างกรอบที่แข็งแรงเพื่อที่จะลดหรือกำจัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ เราอาจจะลงลึกไปถึงการวิเคราะที่ละเอียดขึ้นอย่างเช่นการวิเคราะผลกระทบตลอดห่วงโซ่อุปทาน (life cycle analysis) เพื่อที่จะมองว่าทางเลือกใดๆของเรานั้นได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงไหนหรือไม่ และเมื่อถึงตอนนี้เราจะหยิบยืมโมเดลสิ่งแวดล้อมอันไหนก็ได้มาปรับใช้และโยงกลับไปเพื่อตรวจสอบ เพราะถ้าถึงเวลานั้นแล้วเราอาจจะพบว่าหลายๆอย่างในโมเดลนั้นเราได้ทำมันดีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามการศึกษา SDGs เป็นสิ่งที่จะช่วยเราได้มาก เพราะมันไม่ใช่โมเดลเพื่อความยั่งยืน แต่มันคือเป้าหมายร่วมเพื่อให้เราเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ใข และเราควรจะเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าความยั่งยืนไม่ใช้การแข่งขัน แต่เป็นการร่วมมือกันเพื่อโลกที่ดีขึ้น

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ