UN SDGs 17 ข้อ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

คำคำนี้ผู้อ่านทุกคนอาจจะเห็นทางเราหรือหลายๆภาคส่วนในสังคมเรากล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง วันนี้เรามาจะเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปและความสำคัญของ SDGs ทั้ง 17 ข้อ กัน

SDGs คืออะไร

SDGs ย่อมาจาก Sustainable Development Goals ถูกสร้างมาเพื่อตีแผ่และเพื่อมุ่งแก้ใขปัญหาอันยากลำบากทั้งหลายที่เกิดขึ้นและจะกระทบทุกภาคส่วนของโลกใบนี้ ต้นตอของ SDGs เริ่มมาจาก Millennium Development Goals (MDGs) ซึ่งถูกนำมาปรับใช้โดย United Nation ในปี คศ. 2000 ซึ่งเราจะไม่พูดถึงรายละเอียดในจุดนี้ เพราะมันถูกมองว่าเป้าหมายของ MDGs เป็นเป้าหมายที่แคบเกินไปและไม่ได้มุ่งแก้ใขปัญหาใหญ่ทั้งหมดของโลกที่มีความเชื่อมต่อกันอย่างสูง (Interconnented) ใบนี้

เราควรจะต้องมองปัญหาเป็นภาพรวมและแก้ใขกันไปพร้อมกันทั้งระบบ ในงานประชุมประชาคมโลกเพื่อความยั่งยืน Rio+20 conference ที่จัดขึ้นที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิลในปี 2012 ผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่างๆทั่วโลกจึงมีการตกลงร่วมกันในการสร้างเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น และจากนั้นหลังจากการพูดคุยหารือจากทั่วโลกเป็นเวลาถึงสามปี SDGs 17 ข้อจึงถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของ 2030 Agenda for Sustainable Development ขององค์กรสหประชาชาติ(United Nation) ซึ่งเป็นแผนเพื่อนำไปสู่การแก้ใขปัญหาด้านความยั่งยืนของโลกให้ได้ภายในปี 2030

SDGs คืออะไร มี 17 ข้อ ประเทศไทย

 

ซึ่งบางคนอาจจะมีข้อสงสัยเพิ่มเติมว่าทำไมการแก้ปัญหาเหล่านี้ถึงต้องเป็นภายในปี 2030 เหตุผลหลักๆคงเป็นเพราะว่าจากการวิจัยมากมายหลายฉบับขององค์กรสหประชาชาติ พบว่า โลกที่อุณหภูมิสูงขึ้นเพียงแค่ 1.5 องศา ( เทียบกับปี 2000 ) จะส่งผลกระทบมากมายทั้งกับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากร และถ้าสูงขึ้น 2.0 องศาผลกระทบจะทวีคูณจนมนุษย์เราจะใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมไม่ได้ และจากการวิเคราะถ้ามนุษย์เราไม่ทำอะไรเลยอุณหภูมิจะแตะ 1.5 ในปี 2034 และอาจจะแตะ 2 องศาประมาณปี 2050 หมายความว่าเพื่อควบคุมสภาวะโลกร้อนนี้ เราจำเป็นต้องลดการปล่อย CO2 ไปไม่น้อยกว่า 40% ภายในปี 2030 ( นับจาก ปี 2010 ) และหยุดการปล่อยคาร์บอนเลยภายในปี 2050 และประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ปัญหาเรื่องโลกร้อนมีความเกี่ยวโยงกับอีกหลากหลายปัญหาจากหลากหายแห่งทั่วโลก จึงไม่สามารถแก้ใขที่จุดๆเดียวได้ เช่นในสังคมที่มาความเหลื่อมล้ำมีความยากจนในระดับสูง คงเป็นไปไม่ได้ที่คนในสังคมจะสนใจแต่สิ่งแวดล้อมมากกว่าปากท้องตนเอง เพราะฉะนั้น UN SDGs ทั้ง17ข้อนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ใขปัญหาไปพร้อมๆกันแบบองค์รวม เพื่อให้นำไปสู่การแก้ใขที่เป็นไปได้

ซึ่งจากนี้ไปจนกว่าสังคมโลกจะล่มสลายหรือปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมจะถูกแก้ เราคงจะได้เห็นเป้าหมายทั้ง17ข้อนี้ไปอีกนาน

ข้อมูลน่ารู้: ปัจจุบันนี้มนุษย์ให้ทรัพยากร 1.7 เท่าต่อปีของทรัพยากรที่โลกสามารถผลิตฟื้นฟูกลับมาได้ ถ้ามนุษย์ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ทรัพยากรณ์โลก(เป็นเหมือนเดิม) ในปี 2030

 

Sdgs 17 topics คืออะไร

UN SDGs 17 ข้อประกอบด้วย

  • SDGs 1 (No poverty) คือเป้าหมายในการลดความยากจนในสังคมอย่างยั่งยืน
  • SDGs 2 (Zero Hunger) คือเป้าหมายในการกำจัดความหิวโหย ให้คนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงอาหารได้โดยง่าย ไม่ต้องมีใครหรือชุมชนไหนต้องอดยาก
  • SDGs 3 (Good health & well-being) คือเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน ที่ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ แต่รวมถึงความเป็นอยู่แบบองค์รวมด้วยเช่นกัน
  • SDGs 4 (Quality education) คือเป้าหมายในการให้ทุกพื้นที่ได้เข้าถึงการศึกษาและความรู้ที่ดีโดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง
  • SDGs 5 (Gender equality) คือเป้าหมายเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ไม่ใช้แค่ชายหญิง แต่หมายถึงทุกเพศสภาพ
  • SDGs 6 (Clean water & sanitation) คือเป้าหมายให้ทุกพื้นสามารถเข้าถึงน้ำสะอาด เพียงพอและไม่มีการปนเปื้อน
  • SDGs 7 (Affordable Clean energy) คือเป้าหมายให้ทุกชุมชนสามารถเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาดได้
  • SDGs 8 (Decent work & Economic Growth) คือการสร้างงานที่เหมาะสมให้กับทุนคนเพื่อการเติมโตของเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน
  • SDGs 9 (Industry, Innovation and Inflastructure) คือเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานในทุกชุมชนให้เหมาะสม และสามารถรองรับดูแลความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  • SDGs 10 (Reduce Inequalities) คือเป้าหมายในการลดความไม่เท่าเทียมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และลดช่องว่าระหว่างชนชั้นในทุกสังคมทั่วโลก
  • SDGs 11 (Sustainable cities and communities) คือเป้าหมายในการสร้างเมืองและสังคมที่ยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และระบบเศรษฐกิจ
  • SDGs 12 (Responsible consumption and production) คือเป้าหมายในการสร้างระบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ลดหรือกำจัดผลกระทบทางลบตลอดกระบวนการผลิตจากต้นทางจนถึงการบริโภคและการกำจัดขยะที่ปลายทาง
  • SDGs 13 (Climate action) คือเป้าหมายในการร่วมกันลดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ชะลอสภาวะโลกรวน และชะลอการเพื่มขั้นของอุณหภูมิโลก
  • SDGs 14 (Life below water) คือเป้าหมายในการดูแลปกป้องทุกชีวิตใต้แหล่งน้ำ ตั้งแต่ระบบนิเวศน้ำจืดจนถึงระบบนิเวศทางทะเล
  • SDGs 15 (Life on land) คือเป้าหมายในการดูแลปกป้องทุกชีวิตในบกตั้งแต่ชายฝั่งตลอดจนภูเขาสูง
  • SDGs 16 (Peace, justice and strong institutions) คือเป้าหมายการรักษาไว้ซึ่งความสงบสุขในสังคม สร้างความยุติธรรม หยุดความขัดแย้งและสงคราม
  • SDGs 17 (Partnership for Goals) คือการตั้งเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้โลกนี้ดีขึ้นอย่างยื่งยืนไปด้วยกัน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทุกผู้เกี่ยวข้อง ทุกผู้อยู่อาศัยบนโลกใบนี้

ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายที่ตั้งเป้าในการแก้ไขปัญหาระดับโดยอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจจะดูเหมือนเยอะ แต่ถ้าเรามองดูดีๆ จะพบว่าทั้งหมดอยู่ในกรอบของการแก้ใขปัญหาเพียง3เรื่องคือ สิ่งแวดล้อม(Environment), สังคม (Society), และเศรษฐกิจ (Economic) ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

 

 

 

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ