Somdul Café Story

“ใครจะไปเข้าถึงวนเกษตร อะไรพรรค์นั้นของพวกมึงวะ?”

และอีกหลายๆ คำถามประมาณนี้ถูกตั้งขึ้นมาอย่างถาโถมใส่เรา เมื่อได้มีโอกาสเล่าให้คนรอบข้างฟังถึงสิ่งที่เรากำลังจะทำ – “ศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรรมเชิง “วนเกษตร” Somdul Agroforestry Home” – เกือบทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่าประเด็นนี้มันหนักเกินไปที่จะพูดให้ทุกคนเข้าใจ

สมดุลคาเฟ่ วันแรก

 “Shade-Grown Coffee” Topicนี้ถูกพูดขึ้นในวงสนทนาของคนรักกาแฟที่โรงคั่วกาแฟบรรยากาศโฮมมี่ที่สุดที่หนึ่ง Coffeebark Homeroaster แรงบันดาลใจถูกจุดประกายโดย “พี่เอิ๊ก” และ “พี่แนท” เจ้าของโรงคั่วแห่งนี้ที่มักจะเฟ้นหาแต่ Shade-Grown Coffee หรือ ต้นกาแฟที่ถูกปลูกในป่า อาศัยไม้ใหญ่เป็นร่มเงา โดยที่คนปลูกไม่จำเป็นต้องไปตัดไม้ทำลายป่า เพียงเพื่อที่จะดูแลรักษาต้นกาแฟเพียงอย่างเดียว และต้นกาแฟยังมีธาตุอาหารที่อุดมสมบูรณ์จากระบบนิเวศของป่านั้นๆ อีกด้วย สายตาของพวกเราสบตาพร้อมกันโดยมีนัยยะแอบแฝงที่ต่างคนต่างมั่นใจว่า คิดอะไรบางอย่างตรงกันอยู่

กาแฟไรรองกล้วย มณีพฤกษ์

 เด็กผู้ชายคนหนึ่งผู้มีกิจวัตรประจำวันยามเช้า คือการตื่นแต่เช้าให้ก่อนพ่อแม่ของเขาตื่น เพื่อที่จะแอบชงกาแฟInstant ดื่ม ความขมและ Aroma ล้วนเติมเต็มความสุขของเขาในทุกๆเช้า ผลักดันตัวเขาออกไปให้พร้อมเจออะไรก็แล้วแต่ ในแต่ละวัน ประสบการณ์จากความสุขยามเช้านี้พาเขาตระเวนชิมร้านกาแฟทั่วราชอาณาจักร เพื่อจูน Sensory ของตัวเองให้ตรง และ match กับ Taste note ของกาแฟตัวนั้นๆ ตามคำแนะนำของบาริสต้าร้านชื่อดังหลายๆ ร้าน ไปพร้อมๆ กับเพื่อนชาวคณะที่รักการดื่มกาแฟเช่นเดียวกัน หนึ่งในเรื่องสามัญประจำกลุ่มคือการตระเวนชิมร้านกาแฟ 7-8 ร้านต่อวัน แล้วมานั่งแชร์ไอเดียจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านแก้วกาแฟในแต่ละแก้ว จากมุมมองของแต่ละคน หลายๆเรื่องราวถูกเล่าออกมาผ่านคราบฟองนมบนริมฝีปาก เจือรอยยิ้มที่สดใสเป็นการการันตีถึงผลลัพธ์ที่กาแฟแก้วนั้นได้ทำงานของมันเรียบร้อยแล้ว

ใช่แล้วครับ พวกเราตกหลุมรักกาแฟตั้งแต่วันนั้น

จากวันที่คำถาม “ใครจะไปเข้าถึงวนเกษตร อะไรพรรค์นั้นของพวกมึงวะ?” ได้ถูกตั้งขึ้นมา ผ่านเวลามาถึงโมเมนต์การสบตาโดยมีนัยยะที่ “COFFEEBARK HOMEROASTER” กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “Somdul Agroforesty Café” – Hubเล็กๆ ของคนรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใจกลางสวนป่าติดกับแม่น้ำแม่กลอง – Hubเล็กๆ บนความตั้งใจของเราในการที่จะสร้างSpace เพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้วนเกษตรของเรา กับลูกค้าในทุกๆเรื่อง และสร้างคอนเนกชั่น เพื่อให้การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น / Specialty Coffee ที่ถูกปลูกใต้ผืนป่าไทย หลากหลายพื้นที่ถูกรวบรวมเอาไว้พร้อมเสิร์ฟให้ลูกค้าทุกท่าน เพื่อเป็นกำลังใจที่ดีของเกษตรกรผู้ที่ไม่ได้รักกาแฟแค่อย่างเดียว แต่ยังรักผืนป่าอีกด้วย กลายเป็น Concept ที่ตรงกับหลัก “วนเกษตร” ที่ยึดใช้กับ “Somdul” ของเรา
somdul cafe
อีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอย่าง “มะพร้าว” ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจวัตถุดิบในร้าน เราศึกษาค้นคว้าและพัฒนาต่อยอดให้มีคุณค่ามากกว่าน้ำมะพร้าวทั่วๆ ไป อาทิเช่น Blue Cloud, Coconut Rose Tea รวมไปถึง “Somdul Affogato” ที่ใช้กะทิจากมะพร้าวอินทรีย์ในสวน ได้ความหอม หวาน มัน อย่างธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีแต่งสีหรือแต่งกลิ่น พัฒนาจนกลายเป็น Ice-cream Homemade สูตรลับเฉพาะของทางเรา ผนวกเข้ากับ Espresso Shot จาก “Affogato Special Blend” ของทางร้าน ที่ให้บอดี้ดีเยี่ยม และ Taste Noteเป็นดาร์คชอคโกแลต+คาราเมล สร้างความสมดุลทางรสชาติอย่างคาดไม่ถึง
somdul affogato
แต่ในที่สุดแล้ว เราไม่ได้คาดหวังแค่ความสุขจากความอร่อยในรสชาติเพียงอย่างเดียว เราคาดหวังถึงคุณค่าที่เราใส่ใจในทุกวัตถุดิบตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทางคือเครื่องดื่มในแก้วและขนมในจานของคุณ – ไซรัปธรรมชาติจากน้ำตาลมะพร้าวและน้ำตาลโตนดอินทรีย์ที่เราเคี่ยวด้วยตัวเอง, น้ำผึ้งชันโรงที่มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำผึ้งทั่วไป ทั้งในคุณค่าทางอาหารและรสชาติที่ซับซ้อนน่าสนใจ จนเราอดใจไม่ไหวต้องนำมาเสนอในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป, Specialty Chocolate ที่สกัดจากเมล็ดโกโก้โดยตรง ในรูปแบบของ Cacao nibs ซึ่งยังรักษารสชาติสภาพเดิม ที่มีความสลับซับซ้อนในรสชาติตามสภาพแวดล้อมที่ปลูก และคุณค่าสารอาหารยังไม่หายไปอีกด้วย ผิดกับผงโกโก้ทั่วไป ซึ่งเสียคุณประโยชน์ไปเยอะมาก จากการทำprocessต่างๆ ฯลฯ – มีเรื่องอีกมากมายที่เราอยากจะเล่าให้ทราบ เพราะเราเชื่อโดยแท้จริงว่า ถ้าอาหารหรือเครื่องดื่มถูกเอาใจใส่ ในทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต, วัตถุดิบทุกอย่าง ความสุขที่เกิดขึ้นคงไม่ใช่แค่ที่มนุษย์อย่างคนทำ และคนดื่มหรือคนรับประทานอย่างเดียว สิ่งแวดล้อมเองก็คงจะมีความสุขเช่นเดียวกัน “การแยกขยะ” อย่างเป็นกิจจะลักษณะจึงถูกเริ่มขึ้น เพื่อลดมลภาวะต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เรารัก, ออมเงินได้ทางอ้อมจากการนำเศษขยะบางชนิดกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงเศษอาหารที่สามารถนำไปหมักปุ๋ยไปปลูกต้นไม้ในสวน เป็นต้น
จุดแยกขยะ
เราไม่กล้าการันตีกับใครหรอก ว่าวิถีที่เราทำคือความ “สมดุล” จริงๆ ไหม แต่เรายังยืนยันคำเดิมนะว่า “เราอยากเล่าความ “Somdul” ของเรา” ให้ทุกคนฟัง

ยินดีต้อนรับสู่ “Somdul Agroforestry Café” ครับ

เปิดบริการทุกวัน จันทร์ – พฤหัส เปิด 9.00น – 17.00น

ศุกร์ – อาทิตย์ เปิด 9.00น – 18.00น

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ